วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

                                                     
วันศุกร์ที่ 27  กันยายน  2556

           วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mind  Map  สรุปความรู้ที่ได้จากรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์โบยังพูดเรื่อง Blogger แล้วเอาใบรายชื่อมาให้ดูว่าใครบันทึกการเรียนการสอนยังไม่ครบ  สุดท้ายอาจารย์โบก็บอกแนวข้อสอบ





วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันศุกร์ที่  20  กันยายน  2556

การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ ให้ชมคลิปวีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่อง ภาษาธรรมชาติเด็กปฐมวัย
 ของอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา 



                       ชมวีดีโอ คลิ๊ก http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=796#



กิจกรรม   แบ่งกลุ่มละ  5  คน  ช่วยกันออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่สนใจ   



                                              -หน่วยการเรียนรู้  เรื่องชนิดของกล้วย









การจัดประสบการณ์เรื่องกล้วย

เด็กๆจะได้รู้จักกล้วย ไม่ใช่แค่เอาไว้กินเวลาสุกอย่างเดียว
 แต่มีประโยชน์หลายๆอย่าง แล้วยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้อีกมากมาย
 และกล้วยนั้นก็มีด้วยกันอยู่หลายชนิด ซึ่งเด็กๆจะได้รู้จักจากการทำกิิจกรรมนี้











ความรู้ที่ได้รับ
        
  - การใช้ภาษาช่วยกันแต่งเพลงกล้วย
                           
  -การร่วมกันวางแผน ในการทำงานแต่ละขั้นตอน
                             
 -เทคนิคในการนำเสนอ เช่น บุคคลิกภาพ การพูด การยืน
                         
























วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556  


     การเรียนการสอนในวันนี้คือ การให้ยืนไหว้ทำความเคารพอย่างถูกวิธี ดูภาพการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพิ่มเติมจากอาทิตย์ที่แล้ว


     กิจกรรมในวันนี้ คือ แบ่งเป็นกลุ่มละ 5 คน  คิดการจัดสภาพแวดล้อมมุมตามจินตนาการของ
แต่ละกลุ่ม โดยให้ออกแบบใส่กระดาษ ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ออกแบบมุมจราจร ซึ่งมุนนี้จะออกแบบมีทั้งให้เด็กได้เล่นจริงๆ มีบัตรคำ มีมุมเปลี่ยนชุดต่างๆที่อยู่ในจราจร เช่น ชุดวิน  ชุดตำรวจ แม่ค้า ให้เด็กๆเรียนรู้จากการวาดภาพจำลองของกลุ่มดิฉัน


     มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ออกไปพูดเกี่ยวกับวิธีการจัดมุมต่างๆ ที่ได้ออกแบบมาให้เพื่อนๆฟัง




ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ได้ใช้ภาษาในการช่วยกันทำงาน 
             2.ได้ความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในการออกแบบมากขึ้น
             3.แลกเปลี่ยนควาคิดเห็นกัน และร่วมมือร่วมใจช่วยกันทำงาน
             4.เพื่อปูพื้นฐานสำหรับการนำไปทำใช้จริง









วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน  2556


การเรียนการสอนวันนี้ครูโบพาร้องเพลง  ครอบครัวกระต่าย ก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยสุ่มชื่อเพื่อนออกมาเป็นครอบครัวกระต่าย  มี พ่อ  แม่ ลูก  แล้วเต้นเพลงครอบครัวกระต่าย


เพลงครอบครัวกระต่าย


พ่อกระต่าย แม่กระต่าย ลูกกระต่าย 
 มีบ้านอยู่ตามโพรงดินในป่า
ชอบกินๆ ยอดผัก ชอบนักก็ต้องยอดหญ้า 
 ชอบวิ่งไปมาตล๊อบๆ
พ่อกระต่ายแม่กระต่ายลูกกระต่าย 
อยู่กันอย่างสบายในป่า
เพื่อนบ้านเขาเป็นนกกา เพื่อนรักเขาเป็นตัวตุ่น 
วิ่งเล่นกันชุลมุน ตล๊อบๆ


การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความภาพและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
                 หลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม

  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฎิบัติจริงเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เปิดโอกาสให้เด้กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางหลักไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฎิสัมพันธ์หลายๆ รูปแบบ

              มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

               ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุุุุม
  • บริเวณใกล้ๆ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี กระดาษ  กรรไกร  กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
                             มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัย 
  • มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านตามลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณืสำหรับการเขียน
                         มุมบทบาทสมมุติ
  • มีชื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
                          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง ซองจดหมาย
  • กรรไกรกาวสำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด้กได้ทำกิจกรรม
                          มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง  ฉิ่ง  ระนาด ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ

                 สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สื่อจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์


กิจกรรม

คัดไทย





วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11



วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้  ออกแบบเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย และระบุบด้วยว่าเกมนี้เหมาะสมกับวัยใด
ซึ่งเกมนี้ก็เหมาะกับเด็ก 6 ขวบขึ้นไป เพราะเริ่มรู้จัก
พยัญชนะไทยแล้ว
การทำงาน
                  - แบ่งกลุ่มละ 5 คน   ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำเกม ลูกเต๋าผสมสระ







กิจกรรม 
ร่วมกันทำงานกลุ่ม ออกแบบเกมการศึกษา  นำเสนอผลงานหน้าชั้น และอธิบายให้ครูและเพื่อนๆฟัง





ความรู้ที่ได้รับ

  1. ได้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดเกมการศึกษา  
  2. ได้รู้จักคิด และวางแผนก่อนทำงาน
  3. ใช้ภาษาในการสื่อสารกันระหว่างทำงาน ทำให้งานสำเร็จไปด้วยดี











บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ 2556

การเรียนการสอนในวันนี้ ทำให้รู้จักการใช้สื่อในการสอนเกี่ยวกับภาษาเพื่อดึงดูดเด็กให้มีความน่าสนใจมากขึ้น




โดยทำจากกระดาษA4 พับครึ่งแผ่นเดียวเท่านั้น ก็ได้สื่อไว้สอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแล้ว 

ตัวอย่าง







ความรู้ที่ได้รับ  

 1. สามารถทำได้หลากหลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้
 2. ช่วยให้จดจดคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น ดึงดูดความสนใจได้







วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันที่ 17 สิงหาคม  พ.ศ.2556


วันนี้มีอาจารย์คนใหม่มาสอนแทน โดยอาจารย์ให้ทำสื่อการสอนตอนรับอาเซี่ยน
มีงาน 3 ชิ้น และให้บอกว่านำไปใช้อย่างไร ปัญหาหรืออุปสรรค์ในการทำงานร่วมกัน

1.วาดรูปธงทั้ง 10 ประเทศอาเซี่ยน 

2. ทำหุ่นนิ้ว

















3.ทำpop up



















ความรู้ที่ได้รับ คือ  สามารถนำสื่อนี้ไปพัฒนาในการสอนเกี่ยวกับ ธง แต่ละประเทศ ช่วยดึงดูดความสนใจเด็กได้มากขึ้น